วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร


แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

  - เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ  ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน

  - สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น  มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่

  - เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์

  - เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง

  - ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร

  - เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

  - เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย



แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา

-  เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษา  เพื่อการสื่อสาร


-  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิต


-  มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้


-  มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต


-  มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด


-  มีความสามารถที่จะนำตนเองได้ การควบคุมตนเองได้


-   มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็นชาติไทยของตน


-   มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม


-   มีสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิต


สภาพปัญหาการพัฒนาหลักสูตรของอุดมศึกษา

-  ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม


-  อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม


-  มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของหลักการที่เลียนแบบ


-  การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้


-   การตื่นตัวทางการวิจัยมุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมากเกินไปจนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน


-   กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง


-   งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ


แนวโน้มสำคัญของการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า

-  มุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชาเรียนช่างยนต์ จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา


-   หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน


-  การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก


-   ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง


-   โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปดังนี้
ตัวแปรทำนายจากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- เสียง
- รูปร่างหน้าตา
- ความมั่นคงในอารมณ์
- ความน่าเชื่อถือ
- ความอบอุ่น
- ความกระตือรือร้น

การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่าคุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
การศึกษาที่มีผลต่อหลักสูตรในการพัฒนาหลักสูตร
1. ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า
1 .ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ
2. เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร จากขอบข่ายดังกล่าวนี้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็นคือ
3.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills) จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา
2 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ (Computes and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆมีรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน การพัฒนาแผนสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ตั้งแต่อนุบาลถึงเกรดสิบสอง
3 ความยืดหยุ่นของหลักสูตร (Curriculum Flexibility)ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์และรวดเร็วจากหลักสูตร สำหรับอนุบาลถึงเกรดสิบสอง
4 การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้ หลักสูตรได้รับการทบทวนและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ
5 ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals)ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
6 โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล)ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้
7 การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียวโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต
8 สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships)ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย
9 การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
10 สื่อมวลชน (Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และ การดูที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ
11 การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
12 การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach)หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า
13 การพัฒนาทีมงาน (Staff Development ) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี
14 ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษาเชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน
15 การอาชีวะและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน
สรุป
ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรและนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆและนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน