วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

(Self-Test)11

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
2.การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้มีจุดประสงค์สำคัญคืออะไร
ตอบ การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า
          จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร  (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 
          1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
          2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่
          3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร
          4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
          5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่
          6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร
          7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่

กิจกรรม (Activity)
3.ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์
ตอบ    การประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญา เป็นการประเมินระดับคุณภาพ/การปฏิบัติของสถานศึกษาใน 5 ด้าน 18 องค์ประกอบ 62 ตัวบ่งชี้ซึ่งระบุในเครื่องมือประเมินผลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2554 – 2556 โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายการประเมินด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 5 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ
องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ
องค์ประกอบที่ 4 อาคารสถานที่/แหล่งเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 5 ความสัมพันธ์กับชุมชน
รายการประเมินด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายการประเมินด้านที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
รายการประเมินด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 2 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามประเมินผลและขยายผล
รายการประเมินด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน

(Self-Test)10

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
1.ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตรได้หรือไม่ อย่างไร ข้อมูลพื้นฐานด้านใดที่เป็นปัญหาและแนวโน้มที่มีผลต่อหลักสูตรมากที่สุด
ตอบ ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประกอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ และนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้  ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้
กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นคว้าจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร
ตอบ    ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย
1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย
  การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเครียด
-  การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่
-  แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-  การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น
-  สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน
-  มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน
-  ทำให้ครูเกิดความสับสน
ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ  ปวช.  คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น  อ่าน  สะกดคำไม่ได้  ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส
-  ยังไม่เหมาะสม  เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
สภาพและปัญหาของหลักสูตร
1. การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
2. คุณภาพการศึกษา
3. หลักสูตรและการเรียนการสอน
4. การบริหารและการจัดการศึกษา
5. งบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา
6. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
7. แนวโน้มผู้เข้าเรียน
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา
การศึกษาสำหรับเด็กเล็ก และก่อนประถมศึกษาจะขยายตัวมากกว่าระดับอื่น
-  การเพิ่มคุณภาพของครูประถม
-  การเพิ่มงบประมาณ การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบอาชีพ
-  การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
-  การยุบโรงเรียนรวมเข้าด้วยกันแทนการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา
-  เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษา  เพื่อการสื่อสาร
-  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิต
-  มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
-  มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต
-  มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด
-  มีความสามารถที่จะนำตนเองได้ การควบคุมตนเองได้
-   มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็นชาติไทยของตน
-   มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม
-   มีสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิต
สภาพปัญหาการพัฒนาหลักสูตรของอุดมศึกษา
-  ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม
-  อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม
-  มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของหลักการที่เลียนแบบ
-  การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้
-   การตื่นตัวทางการวิจัยมุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมากเกินไปจนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน
-   กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง
-   งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ
แนวโน้มสำคัญของการศึกษาไทยใน 5 ปีข้างหน้า
-  มุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชาเรียนช่างยนต์ จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา
-   หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน
-  การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก
-   ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง
-   โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

(Self-Test)9

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
1.หลักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญหรือจำเป็นอย่างไร
ตอบ   1. เป็นเอกสารของทางราชการ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวของกับการศึกษาได้ปฏิบัติตาม
และเข้าใจตรงกัน
2. เป็นแผนการปฏิบัติงานของครูในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
3. เป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับต่าง ๆ
4. เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของผู้เรียนตามจุด
มุ่งหมายของการศึกษา
5. เป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อให้
ได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคม
6 .เป็นตัวกำหนดลักษณะและรูปแบบของสังคมในอนาคต และเป็นเครื่องชี้วัดความ
เจริญก้าวหน้าของประเทศ
7. เป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานตามนโยบาย
ของการจัดการศึกษา


กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ตอบ -การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทำนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม วัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก ห้องเรียน การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือก การเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้ นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ อย่างละเอียด และรอบคอบก่อน ตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ การพัฒนาหลักสูตรมีข้อควรคำนึงหลายประการที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องหาคำตอบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจจัดทำหลักสูตร Tyler (1949) ได้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายการศึกษาของโรงเรียน คืออะไร?
2.การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาของโรงเรียนนั้น ต้องใช้ประสบการณ์การศึกษาอะไร?
3. ประสบการณ์การศึกษาดังกล่าวจะจัดอย่างไร?
4. คุณภาพของหลักสูตรได้มาอย่างไร?
สำราญ คงชะวัน (2456: 13-14) ได้สรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน (Marsh and Willis. 1995:129)การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ระยะเวลา ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลา และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
บุญชม ศรีสะอาด (2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation) อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี 2 ลักษณะ
          1.1 หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
          1.2 ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตรใหม่
2.  พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation) ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจากปรัชญามีส่วนในการช่วยกำหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน ซึ่งมีแนวปรัชญาต่างๆ มากมาย
          2.1 ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบสหสัมพันธ์ (Broadfields curriculum)
          2.2 ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสำคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคำนวณ
          2.3 ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้สอนแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
   2.4 ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคมและการดำรงชีวิต (Social process and life function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core curriculum)
          2.5 ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกำหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกในสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทำให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychologial foundation) จิตวิทยามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการสอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
            4.1 จิตวิทยาพัฒนาการ การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนหลักสูตร ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคลวุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยของนักทฤษฎีพัฒนาการ Hevighurst development theory กล่าวว่า งานพัฒนาการแต่ละวัยนั้น ถ้าหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาในงานใด ก็จะทำให้มีความสุขและส่งผลต่อความสำเร็จในงานต่างๆ มาก ทฤษฎีพัฒนาการ Erikson’s psychosocialtheory ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะเกิดความพึงพอใจและมั่นใจ สามารถพัฒนาการขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้มีบุคลิกภาพดี แต่ถ้าขั้นใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
           4.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมการสอน ทฤษฎีที่สำคัญ ได้แก่
- ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการเสริมแรง และทฤษฎีเงื่อนไข นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
- ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญมากจะต้องมาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม
- ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory) มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
- ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็นทฤษฏีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ คุณลักษณะของแต่ละคน
5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้นๆ

-หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
          1.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
3.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
5.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
จุดหมาย
หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
1.  มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย

8. มีจิตสาธารณะ

(Self-Test)8

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
1.บุคคลสำคัญที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสอบความสำเร็จคือใครบ้าง
ตอบ   บุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1.ผู้บริหารโรงเรียน
2.หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3.ครูผู้สอน


กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การนำหลักสูตรไปใช้
ตอบ    -การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
        การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้ และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
         การนำหลักสูตรไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง ทำให้การให้ความหมายของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้แตกต่างกันออกไป นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือให้คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนี้

        โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
       สันติ ธรรมบำรุง (2527.120)กล่าวว่า การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       จันทรา (Chandra, 1977:1) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่าเป็นการทดลองใช้เนื้อหาวิชาวิธีการสอน เทคนิคการประเมิน การใช้อุปกรณ์การสอน แบบเรียนและทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน โดยมีครูและผู้ร่างหลักสูตรเป็นผู้ปัญหาแล้วหาคำตอบให้ได้จากการประเมินผล
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
        โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 169) กล่าวว่า สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
         1. ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร
         2. ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จได้ ผู้นำที่สำคัญที่จะรับผิดชอบได้ดี คือครูใหญ่
หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ
2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้
5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง
6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู
7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
กิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
        สงัด อุทรานันท์ (2532 : 263-271) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีงานหลัก 3 ประการ คือ
 1. งานบริหารและบริการหลักสูตร จะเกี่ยวข้องกับ งานเตรียมบุคลากร การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน
 2. งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกอบด้วย การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
 3. งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรประกอบด้วย การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรและการตั้งศูนย์บริการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
          - การบริหารและบริการหลักสูตร
          -การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
          - การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
  - การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
          - การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
        บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1.ผู้บริหารโรงเรียน
2.หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา

3.ครูผู้สอน

เกี่ยวกับฉัน