วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร

 ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
  - เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
  - ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
  - การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
1. ผู้ใช้หลักสูตรบางท่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
2. ขาดประสบการณ์และขาดการประสานงานหน้าที่ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
3. ผู้บริหารระดับต่างๆเห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร โดยใช้ตามที่ตนเองถนัดสอนมา
5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่ ยังไม่ครอบคลุม
6. ผู้ใช้หลักสูตรบางท่านไม่สนใจนำหลักสูตรมาปฏิบัติใช้อย่าแท้จริง
ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย

1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู

3. ปัญหาการจัดอบรมครู

4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน

5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ

6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร

ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย

  การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเครียด

-  การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่

-  แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ

ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน

-  การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น

-  สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน

-  มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน

-  ทำให้ครูเกิดความสับสน

ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา

ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ  ปวช.  คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น  อ่าน  สะกดคำไม่ได้  ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ

การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส

-  ยังไม่เหมาะสม  เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

สภาพและปัญหาของหลักสูตร

1. การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

2. คุณภาพการศึกษา

3. หลักสูตรและการเรียนการสอน

4. การบริหารและการจัดการศึกษา

5. งบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา

6. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา

7. แนวโน้มผู้เข้าเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน