วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

(Self-Test)7

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
1.แบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตร มีองค์ประกอบเหมอนหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ   -ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่าง ๆ   แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่นๆ ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ การนำไปใช้ และการประเมินผล) ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการกระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ (การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่นๆ) มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบจำลองของไทเลอร์
              แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความผิดแผกแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้ ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม” ในการพรรณนารายละเอียดทุกๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมากๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้) ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ว่า แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปีและพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือนักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้ เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุงแบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
              ก่อนที่จะเลือกแบบจำลองหรือออกแบบจำลองใหม่ผู้วางแผนหลักสูตรอาจจะกำหนดเกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการปรับปรุงหลักสูตร เป็นที่ยอมรับกันว่า แบบจำลองโดยทั่วไปควรแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้
                   1. องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการถึงระยะของการวางแผนการนำไปใช้และการประเมินผล
                   2. ธรรมเนียมการปฏิบัติ แต่ไม่จำเป็นต้องตายตัว คือมีจุด เริ่มต้น” และ จบ
                   3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
                   4. ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรและเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
                   5. ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
                   6. มีรูปแบบเป็นวงจรมากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
                   7. มีเส้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ
                   8. มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในจุดใดจุดหนึ่งของวงจร
                   9. มีความสอดคล้องภายในและมีตรรกะ
                   10. มีความเรียบง่ายเพียงพอที่จะเข้าใจได้และทำได้
                   11. มีการแสดงองค์ประกอบในรูปของไดอะแกรมหรือแผนภูมิ
              เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ โอลิวาได้ยอมรับว่า เป็นเกณฑ์ที่มีเหตุผลที่ปฏิบัติตามได้และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทาง โอลิวาได้เสนอแบบจำลองที่ควบคู่ไปกับข้อแนะนำข้างต้นซึ่งจะทำให้บรรลุความมุ่งหมายสองประการ คือ
              1. เพื่อเสนอแนะระบบที่ผู้วางแผนหลักสูตรประสงค์จะปฏิบัติตาม
              2. เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบงานสำหรับการอธิบายระยะต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ทั้งแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์ และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์) ของวอคเกอร์และสกิลเบค ตลอดจนแบบจำลองของนักการศึกษาคนอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แบบจำลองเหล่านี้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ในส่วนที่แตกต่างกันคือ บางแบบจำลองมีขั้นตอนละเอียดมากและแต่ละแบบจำลองก็มีขั้นตอนที่เป็นจุดร่วมที่เหมือนกันที่พอจะสรุปเป็นขั้นของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมได้ห้าขั้นตอน คือ
                   1. การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                   2. การเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
                   3. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ
                   4. การประเมินผลหลักสูตร
                   5. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร


กิจกรรม (Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ    -แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
     “แบบจำลอง  (Model) บางแห่งเรียกว่า รูปแบบ โอลิวา เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้ในสาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตร”  เป็นการนำเสนอภาพความคิดที่ได้จากการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่เริ่มต้น กระบวนการ และย้อนกลับมาเริ่มต้น เป็นวัฎจักร ซึ่งเป็นรูปแบบที่จำเป็นในการให้บริการในลักษณะของข้อแนะในการปฏิบัติ ซึ่งสามารถพบได้ในเกือบจะทุกแบบของกิจกรรมทางการศึกษา  ในเชิงวิชาชีพแล้วมีแบบจำลองจำนวนมาก  เช่น  แบบจำลองการเรียนการสอน  (models  of  instruction)  แบบจำลองการบริหาร  (models of administration)  แบบจำลองการประเมินผล (models  of  evaluation)  และ แบบจำลองการนิเทศ  (models  of  supervision)  เป็นต้น
         แบบจำลองบางรูปแบบที่พบในวรรณกรรมต่างๆ  บางแบบก็เป็นแบบง่ายๆ บางแบบก็มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก  และยิ่งมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งมีความใกล้กับความเป็นวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากขึ้นเท่านั้น  บางแบบจำลองใช้แผนภูมิซึ่งประกอบด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัส  กล่อง  วงกลม  สี่เหลี่ยมผืนผ้า  ลูกศรและอื่นๆ  ในสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง  (เช่น  การบริหาร การเรียนการสอน การนิเทศ  หรือ  การพัฒนาหลักสูตร)  แบบจำลองอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน  โดยที่ความคล้ายคลึงจะมีน้ำหนักมากกว่าแบบจำลองแต่ละแบบดังกล่าวเหล่านี้  บ่อยครั้งจะได้รับการกลั่นกลองและปรับปรุงจากแบบจำลองเดิมที่มีอยู่แล้ว

ผู้ใช้หลักสูตรหรือผู้ปฏิบัติหลักสูตร ต้องรับผิดชอบต่อการเลือกใช้แบบจำลองที่มีอยู่แล้วในแต่ละสาขาวิชา และหากไม่ชอบใจก็อาจจะออกแบบจำลองของตนเองขึ้นใหม่ได้ โดยมิได้ปฏิเสธแบบจำลองทั้งหมดที่มีอยู่เดิม และอาจจะนำลำดับและขั้นตอนในแบบจำลองที่มีอยู่นั้นมารวมเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นแบบจำลองที่นำไปสู่การปฏิบัติได้แทนที่จะเริ่มใหม่ทั้งหมด

          แบบจำลองทางสาขาวิชาหลักสูตรที่เป็นที่รู้จักกันดี มักจะเรียกชื่อแบบจำลองตามชื่อของผู้ที่นำเสนอความคิดนั้น ๆ ในสาขาวิชาหลักสูตร ได้แก่ ไทเลอร์ (Tyler)  ทาบา (Taba)
เซเลอร์และ   อเล็กซานเดอร์ (
Saylor and  Alexandder)  วีลเลอร์และนิโคลส์  (Wheeler and Nicholls) วอคเกอร์  (Walker)  สกิลเบค  (Skilbeck)  โอลิวา (Oliva)  และ พรินท์ (Print)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน