วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


        สถานศึกษา หมายถึง เอกสารที่เป็นตัวกำหนดวิธีการหรือแนวทางการจัดการศึกษาในโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องนอกสถานศึกษา เพื่อระดมความคิด ประสบการณ์ มาใช้ในการกำหนดหลักสูตร พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของการศึกษา

            ก่อนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น
  • การสร้างความตระหนักให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและยอมรับ
  • การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการของสถานศึกษาคณะต่างๆ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ และตามความจำเป็นของสถานศึกษา
  • การจัดทำระบบสารสนเทศใช้ในการจัดการศึกษา
  • การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา


  1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย
สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่าโลกและสังคมรอบๆ จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และสถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ซึ่งทำได้โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษาแสดงความประสงค์หรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนาผู้เรียนที่มีพันธกิจ หรือภาวะหน้าที่ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญๆ ของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมาย แผนปฏิบัติการ และการติดตามผล ตลอดจนการจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชนและส่งผลย้อนกลับให้สถานศึกษา เพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามหลักสูตรของสถานศึกษา และจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติที่กำหนดไว้

วิสัยทัศน์
  • เป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตที่พึงประสงค์ เป็นการคิดไปข้างหน้า มีเอกลักษณ์
  • สามารถสร้างศรัทธา และจุดประกายความคิดในสภาพการพัฒนาสูงสุด

ภารกิจ
  • แสดงวิธีดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ และนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไป

เป้าหมาย
  • กำหนดเป็นความคาดหวังด้านคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษากำหนด และสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    2.  การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีสติปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้
  1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า
  3. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
  4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต
  5. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
  6. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมในการเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค
  7. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งดีงามให้สังคม

      3.    กำหนดโครงสร้างหลักสูตร

จากวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำโครงสร้างหลักสูตร ซึ่งกำหนดสาระการเรียนรู้และเวลาเรียนไว้อย่างชัดเจน เพื่อสถานศึกษาจะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้ จะประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะ หรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง กลุ่ม ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสม แบ่งเป็น ลักษณะ คือ
  1. กิจกรรมแนะแนว
  2. กิจกรรมนักเรียน เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น

เวลาเรียน ให้สถานศึกษาจัดเวลาเรียนให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมในแต่ละชั้นปี ทั้งการจัดเวลาการเรียนในสาระการเรียนรู้ กลุ่ม และรายวิชาที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม รวมทั้งต้องจัดให้มีเวลาสำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามความเหมาะสม ดังนี้
ช่วงชั้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ให้จัดเวลาเรียนวันละประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง เพื่อฝึกทักษะจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทักษะเหล่านี้ ได้แก่ ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน และทักษะคณิตศาสตร์ ควรใช้เวลาประมาณร้อยละ 50 ของเวลาเรียนทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์
ช่วงชั้นที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ให้จัดเวลาเรียนวันละประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง การจัดเวลาเรียนในกลุ่มภาษาไทยและคณิตศาสตร์ อาจให้เวลาลดเหลือประมาณร้อยละ 40 ของเวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ โดยให้เวลากับกลุ่มวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ช่วงชั้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ให้จัดเวลาเรียนวันละประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง ให้ทุกรายวิชามีสัดส่วนใกล้เคียงกัน และจัดรายวิชาอาชีพหรือโครงงานอาชีพ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถที่จะออกไปสู่โลกอาชีพ
ช่วงชั้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาคโดยให้คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา หน่วยกิต และมีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า ชั่วโมง ในช่วงนี้จะเริ่มเข้าสู่การเรียนเฉพาะสาขา จึงให้มีการเลือกเรียนในบางรายวิชา และจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม

4. จัดทำคำอธิบายรายวิชา

โดยการนำเอามาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นมาวิเคราะห์และกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด มาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยให้ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ

คำอธิบายรายวิชาสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ เช่น
รูปแบบที่ 1 เขียนเป็นความเรียงเสนอภาพรวมของผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้ทั้ง ด้าน
รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็น ส่วน ประกอบด้วย
  • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเขียนเป็นความเรียง สรุปภาพรวมของผลการเรียนรู้ทั้ง ด้าน
  • สาระการเรียนรู้เขียนเป็นความเรียงของขอบข่ายเนื้อหา
รูปแบบที่ 3 เขียนเป็นความเรียง ประกอบด้วย ส่วน คือ
  • ขอบข่ายกิจกรรมที่กำหนดกว้างๆ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา
  • ขอบข่ายเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา
  • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างกว้างๆ
รูปแบบที่ 4 เขียนเป็นความเรียง ประกอบด้วย ส่วน คือ
  • จุดประสงค์ของรายวิชาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้รายวิชา
  • ขอบข่ายสาระการเรียนรู้
  • กิจกรรมการเรียนรู้
  • วิธีการวัดและประเมินผล
รูปแบบที่ 5 เขียนแยกเป็น ส่วน ประกอบด้วย
  • ผลการเรียนรู้เขียนให้ครอบคลุมทั้ง ด้าน เป็นข้อๆ โดยไม่แยกด้าน
  • สาระการเรียนรู้ เขียนเป็นข้อๆ

5. จัดทำหน่วยการเรียนรู้

            โดยการนำเอาสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ไปบูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ย่อยๆ เพื่อความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา

            ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ อาจบูรณาการทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้หรือเป็นการบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้ หรือเป็นการบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนโดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

ตัวอย่าง หน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ท ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จำนวน 240 ชั่วโมงต่อปี

หน่วยการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
เวลาที่ใช้สอน/ชั่วโมง
1
นั่งชิงช้าร้องเพลงช้าง
13
2
กล้าไม่สบาย
13
3
ไปโรงเรียน
13
4
ก่อนถึงเวลาเรียน
14


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน