วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

ระยะของการการประเมินหลักสูตร

                การประเมินหลักสูตรที่ดีจึงต้องตรวจสอบเป็นระยะเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น  3 ระยะ
                ระยะที่  1 การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ ( Project Analysis )
                ในช่วงระหว่างที่มีการสร้างหรือพัฒนาหลักสุตร อาจมีการดำเนินการตรวจสอบทุกขั้นตอนของการจัดการ นับแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายไปจนถึงการกำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนซึ่งสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1.ประเมินหลักสูตรเมื่อสร้างสูตรร่างเสร็จแล้วก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จริง ควรมีการการประเมินตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฉบับร่าง และองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร การประเมินหลักสูตรในระยะนี้ต้องอาศัยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาหลักสูตร ทางด้านเนื้อหาวิชาทางด้านวิชาชีครู ทางดานการวัดผล หรือจะให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือพิจารณาก็ได้
2.ประเมินหลักสูตรในขั้นทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขส่วนท่ขาดตกบกพร่องหรือเป็นปัญหา ให้มีความสมบูรณ์เพื่อประสิทธิภาพในการนำไปใช้ต่อไป เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่อง  อุปสรรค จะได้แก้ไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระยะที่ 2 การประเมินหลักสูตรระหว่างการดำเนินการใช้หลักสูตร ( Formative Evaluation )
ในกขณะที่มีการดำเนินการใช้หลักสูตรที่จัดทำขึ้น ควรมีการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ดีเพียงใดหรือบกพร่องในจุดไหน จะได้แก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม เช่น ประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรในการบริหาร การจัดการหลักสูตร การนิเทศกำกับดูแล และการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตรหลังการใช้หลักสุตร ( Summative Evaluation)
หลังจากที่มีการใช้หลักสูตรมาแล้วระยะหนึ่ง หรือครบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ควรจะประเมินหลักสูตรทั้งระบบ  เพื่อสุปผลการตัดสินว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นควรจะดำเนินการใช้ต่อไป หรือควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นหรือควรยกเลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน