วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562

(Self-Test) บทที่5

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1.ในการจัดการศึกษาของไทยควรนำหลักสูตรประเภทใดมาใช้ด้วยเหตุผลใดเป้นสำคัญ
ตอบ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้ทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจคติที่จำเป็นต่อการศึกษา อาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต

หลักการ 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ
3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยึดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและ การจัดการเรียนรู้
5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.เป็นหลักสูตรการศึกษา สำหรับ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

จุดมุ่งหมาย 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มี ความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิด กับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1.มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
2.มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3.มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมีความสุข

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 

ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้มีสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2.ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่าง เหมาะสม
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูล สารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหา
ความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มี ประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการ ต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง บุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่ พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1.รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
2.ซื่อสัตย์สุจริต
3.มีวินัย
4.ใฝ่เรียนรู้
5.อยู่อย่างพอเพียง
6.มุ่งมั่นในการทำงาน
7.รักความเป็นไทย
8.มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้ สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
โดยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพิ่มเติมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ
- รู้จักปรับตัว
- เป็นผู้นำ
กิจกรรม(Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ตอบ

ประเภทของหลักสูตร

นักวิชาการของประเทศไทยและต่างประเทศได้ทำการสรุปประเภทของหลักสูตรที่สำคัญไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่

1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)

ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก

2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)

แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา 

3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)

เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก


4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)

หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย 

5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)

มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา 


6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)

หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 


7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)

หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ
บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต


หลักสูตรเกลียวสว่าน    (Spiral Curriculum)          
              ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอในระหว่างผู้จัดทำหลักสูตรด้วยกันเอง  ได้แก่  ข้อสงสัยที่ว่าทำไมจึงต้องจัดหัวข้อเนื้อหาในเรื่องเดียวกันซ้ำๆ กันอยู่เสมอในเกือบทุกระดับชั้น  แม้จะได้มีผู้พยายามกระทำตามความคิดที่จะจัดสรรเนื้อหาในแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อให้จบในแต่ละระดับชั้น  แต่ในทางปฏิบัติและในข้อเท็จจริงยังกระทำไม่ได้  เนื่องจากว่าเนื้อหาหรือหัวข้อต่างๆ จะประกอบด้วยความกว้างและความลึก  ซึ่งมีความยากง่ายไปตามเรื่องรายละเอียดของเนื้อหา  นักพัฒนาหลักสูตรยอมรับในปรากฏการณ์นี้และเรียกการจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันไว้ในทุกระดับชั้นหรือหลายๆ ระดับชั้น  แต่มีรายละเอียดและความยากง่ายแตกต่างกันไปตามวัยของผู้เรียนว่า  หลักสูตรเกลียวสว่าน


หลักสูตรสูญ ( Null Curriculum)
              หลักสูตรสูญหรือ Null Curriculum เป็นความคิดและคำที่บัญญัติขึ้นโดยไอส์เนอร์ (Eisner,1979)แห่งมหาวิทยาลัยแตนฟอร์ด  สหรัฐอเมริกา หลักสูตรสูญ เป็นชื่อประเภทของสูตรที่ไม่แพร่หลาย และไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในระหว่างนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน