วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

(Salf-Test)

(Salf-Test)
หลักสูตรมีความสำคัญหรือจำเป็นต่อการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีความสำคัญ
อธิบายดังนี้ 

ความสำคัญต่อการศึกษาส่วนรวม
               มีผู้กล่าวว่าถ้าต้องการทราบว่าประชากรของประเทศใดมีคุณลักษณะอย่างไร มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศมากน้อยเพียงใด ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ฯลฯ ให้ดูจากการศึกษาของประเทษนั้น ทั้งนี้เพราะความสามารถในการจัดการศึกษาได้ทั่วถึง ความเสมอภาค ระดับการศึกษาของประชากรส่วนรวม สัดส่วนและปริมาณของผู้ได้รับการศึกษาสาขาต่างๆ ฯลฯ ย่อมสะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตย และชี้ให้เห็นศักยภาพของประชากรของประเทศในด้านต่างๆ การที่สามารถจัดการศึกษาได้ทั่วถึงและเสมอภาค โดยเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ประชากรทุกเพศทุกวัยได้มีสิทธิในการศึกษาเล่า เรียนทัดเทียมกัน ย่อมแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยในทำนองเดียวกัน สัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ฯลฯ ย่อมชี้ให้เห็นศักยภาพในด้านนั้นๆ ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงไร
               อย่างไรก็ตามยังมีผู้กล่าวอีกว่า ถ้าต้องการทราบและให้รู้ลึกซึ้งลงไปอีก ก็จำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ ของประเทศนั้น เพราะหลักสูตรจะชี้ชัดลงไปว่า มีการสอนอะไรเน้นอะไร เช่น เน้นในด้านภาษา ศีลธรรม หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น การเน้นหนักด้านใดก้ตามย่อมแสดงถึงความรู้และศักยภาพของประชากรในด้านต่างๆ คงจำกันได้ว่าเมื่อครั้งที่ประเทศรัสเซียสามารถปล่อยดาวเทียมสปุตนิค (Sputnik) ขึ้นไปโคจรอวกาศได้เป็นครั้งแรกก่อนประเทศใดๆ ทั้งหมด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่แข่งได้รีบปรับการศึกษาของตนโดยปรับปรุงหลักสูตรให้มุ่งเน้นใน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ เป็นผลให้สามรถแข่งขันกับสหภาพโซเวียตได้ในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหลักสูตรไปในตัวด้วย
               จากนิยามข้างต้นจะเห็นว่า ถ้าไม่มีหลักสูตร การที่จะให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนของชาติย่อมกระทำไม่ได้ ทั้งนี้เป็นดพราะว่าหลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้า ประสงค์ของการศึกษาของชาติ ลงสู่การปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรคือ สิ่งที่นำเอาความมุ่งหมายและนโยบายการศึกษา ถ้าจะกล่าวว่าหลักสูตรคือหัวใจของการศึกษาก็คงไม่ผิด เพราะถ้าปราศจากหลักสูตรแล้วการศึกษาก็ย่อมดำเนินไปไม่ได้

ความสำคัญต่อการเรียนการสอน
               หลักสูตรเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์แก่ผู้เรียนหลัก สูตรจึงเปรียบเสมือนแผนที่เดินเรือซึ่งบอกให้กัปตันหรือครูสอนรู้ว่าจะต้อง ตั้งเข็มทิศไปทางใดและจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนคืออะไร และระหว่างทางที่จะต้องทำมีอะไรบ้างว่าจะต้องใช้สื่อหรืออุปกรณ์ช่วย หรือต้องมีการตรวจสอบประเมินผล หรือต้องปรับปรุงวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการเรียนการสอนนั้นตัวผู้เรียนเองก็ต้องจำเป็นต้องทราบล่วงหน้าว่า จะได้เรียนรู้อะไร และจะได้รับผลอย่างไร นอกจากนี้จะต้องเตรียมการอย่างไร จึงจะสามารถเรียนรู้และได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย การที่การเรียนการสอนจะบรรลุผลได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีสิ่งที่ช่วย กำหนดแนวทาง เพื่อให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ได้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันก็คือ หลักสูตร ถ้าหาไม่มีหลักสูตรก็สอนไม่ได้ เพราะไม่รู้วว่าจะสอนอะไร หรือถ้าจะสอนโดยคิดเอาเองก็จะเกิดความสับสน โดยที่อาจสอนซ้ำไปซ้ำมา ไม่เรียงลำดับตามที่ควรจะเป็น ผลการเรียนรู้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ผู้เรียนเองก้จะมีความลำบากใจ เพราะไม่ทราบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้น สามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับระดับใดชั้นใด (ธำรง บัวศรี,  2532:9-11)

               หลักสูตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาคนในสังคมให้มีคุณลักษณะที่สังคมคาดหวัง หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่จะทำให้การจัดการศึกษาบรรลุผลตามจุดหมายที่กำหนด ไว้ โดยหลักสูตรมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความเจริญงอกงามของบุคคลสามารถปลูกฝัง พฤติกรรม คุณธรรม จริยธรรม วางรากฐานความคิดที่เป็นการสนับสนุนและสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถทำให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ ความสนใจ ความถนัด ที่แท้จริงของตนเอง และพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการ แผนงาน ข้อกำหนด ที่ชี้แนะให้ผู้บริหารการศึกษา ครู-อาจารย์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปดำเนินงานสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมี ประสิทธิภาพ (ฆนัท ธาตุทอง,  2550:4-5)

กิจกรรม(Activity)
สืบค้นจากหนังสือหรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
นิยาม

          นักการศึกษา ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย    ขึ้นอยู่กับทัศนะ ความเชื่อ  แนวคิด ปรัชญาและประสบการณ์ ซึ่งสามารถประมวลความหมายของหลักสูตรที่สำคัญได้ ดังนี้
          หลัก สูตรเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้ปรัชญาหรือความมุ่งหมายทางการศึกษา บรรลุความมุ่งหมายเพราะหลักสูตรเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ อีกทั้งเป็นการกำหนดแนวทางในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมในอันที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญในทุกๆด้าน
                    
               คำว่า “หลักสูตร” หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “ Curriculum ” ได้มีนักวิชาการทางการศึกษาได้ให้คำนิยามหรือความหมายของหลักสูตรไว้หลายทัศนะดังนี้
                    ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1272) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงประมวลวิชาและกิจกรรมต่างๆที่กำหนดไว้ในสถานศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน