วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ความหมายของแหล่งการเรียนรู้



ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
            แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียน รู้ (กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
            จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น  อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้ง สิ้น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา  จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน  นอกจากนี้  ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ได้ เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษา  ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียน  ไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา  และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ความหมายของแหล่งเรียนรู้ 
         
               แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้
แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545a: 43)

               สามารถ รอดสำราญ กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิทยาการ
และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและ
ต่อเนื่องจากแหล่งต่างๆเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 

               ประเวศวะสี กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งรวมวิทยาการที่สังคมยอมรับและถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งและ
จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ศึกษาค้นคว้า   ของประชาชนซึ่งถือว่าเป็นเครื่องหมายของความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ 

                 ดำริบุญชู กล่าวว่าแหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย
ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการได้คิดเองปฏิบัติเอง สร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่องจนเกิดกระบวนการเรียนรู้และสุดท้ายเป็นบุคคลแห่งการ เรียนรู้

                 จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า .....
 

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
1. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ                                                                  

     

แหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียน
วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
1. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 1 .เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและสังคม มีแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย
2. เป็นเครื่องมือที่สำคัญของบุคคลแห่งการเรียนรู้ ในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา สถานประกอบการ วัด ครอบครัว ชุมชน องค์การภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น
บทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้       
บทบาทของแหล่งเรียนรู้ในการให้การศึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เรียน ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย คือ
1. แหล่งเรียนรู้ต้องสามารถตอบสนองการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการได้การเรียนรู้ โดยปฏิบัติจริง และการเรียนรู้ของคนอื่น ๆ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย                                
 2. เป็นแหล่งทำกิจกรรม แหล่งทัศนศึกษา
3. เป็นแหล่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยตนเอง
4. เป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรม
5. สามารถเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้เรียนในเชิงรุก เข้าสู่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ประหยัดและสะดวก
7. มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
8. มีสื่อประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย สื่ออิเลคทรอนิกส์และสื่อต่างๆ เพื่อเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน