วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนาหลักสูตร


ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร

                การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และเป็นการวางแผนการประเมินผลให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ว่าได้บรรลุตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์จริงหรือไม่ เพื่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะได้รู้และคิดเพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป ดังนั้นหลักสูตรที่ดีและเหมาะสมจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองของประเทศตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ
                ในอดีตนักพัฒนาหลักสูตรจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมาย เนื้อหาและวิธีการสอนของหลักสูตรโดยไม่ค่อยสนใจหรือคำนึงผู้เรียนว่าจะมีความรู้สึกหรือมีผลกระทบอย่างไร ปกตินักพัฒนาหลักการสูตรจะกำหนดจะกำหนดจุดมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ และเนื้อหาสาระตลอดทั้งกระบวนการเรียนการสอนก็จะต้องเป็นเรื่องของครูที่จะต้องคิดมาหา ครูมักจะหาเนื้อเรื่องและวิธีการเรียนการสอนโดยคำนึงว่าผู้เรียนคิดอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไรและมีความต้องการอย่างไร แต่ในปัจจุบันแนวคิดนี้ได้เปลี่ยนไป จึงเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะต้องหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความถูกต้อง ชัดเจนและเป็นประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด ทั้งนี้ได้มีผู้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
                สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
                บุญมี เณรยอด (2531:18) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงโครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
                สงัด อุทรานันท์ (2532: 30) กล่าวคำว่า “การพัฒนา” หรือ คำในภาษาอังกฤษว่า “development”มีความหมายที่เด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การทำให้ดีขึ้น หรือ ทำให้สมบูรณ์ขึ้น และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น โดยเหตุนี้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจึงอาจมีความหมายได้ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความหมายแรก หมายถึง การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น และอีกความหมายหนึ่งก็ คือ เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
                หัทยา เจียมศักดิ์ (2539: 12) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
                สวัสดิ์ จงกล (2539: 19) ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น

                จากการที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับ แต่ง เสริม เติมต่อ หรือการดำเนินงานอื่นๆเพื่อให้ได้มาซึ่งความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสนองต่อความต้องการของผู้เรียน 
                1. การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น เป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียนจุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล (Good)
                2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลยโดยจัดให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม (Saylor and Alexander)

การพัฒนาหลักสูตร

วิชากาพัฒนาหลักสูตรและการจัดการกระบวนกาเรียนรู้
ปรัชญาคืออะไร
ปรัชญา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ ความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติ และชีวิตอย่างลึกซึ้ง
เพื่ออธิบายเหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ โดยใช้หลักการของเหตุผลในวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงหรือความรู้ที่แน่นอน

สาขาของวิชาปรัชญา
สาขาปรัชญาแบ่งเป็น 3 สาขา คือ
อภิปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยความจริงสูงสุด
ญาณวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยวิธีการหาความรู้ หรือทฤษฎีความจริง
คุณวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วย คุณค่า ความดี ความงามแยกเป็น 3 สาขา คือ
ตรรกวิทยา เป็นเครื่องมือของวิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักเหตุผล การใช้เหตุผล
ปรัชญามีประโยชน์อย่างไร ?
วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ คณิตศาสตร์ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา แต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปรัชญากับวิทยาศาสตร์จึงต้องทำงานแยกจากกัน
เรารู้ว่า วิทยาศาสตร์ช่วยทำให้เรามีชีวิตที่สะดวกสบายด้วยเครื่องอำนวยความสะดวก
และเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมาย แล้วงานของปรัชญาล่ะ ปรัชญาให้อะไรกับเราบ้าง ?
หลายคนอาจคิดว่า ปรัชญาเป็นสิ่งที่ลึกลับ ล้าสมัย แต่ความเป็นจริงแล้ว ปรัชญานั้น
ไม่ล้าสมัยและสอดแทรกอยู่ในทุกสิ่งในโลก
หัวข้อข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลก ล้วนไม่พ้นคำถามในเชิงปรัชญา เพราะปัญหา ถ้าเราจะแก้ให้ตรงจุด เราต้องมองปัญหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง รอบด้าน และรอบคอบ ตรงนี้เป็นวิธีการมองปัญหาของนักปรัชญาอยู่
แล้ว เรามาดูกันว่า เหตุการณ์ที่ต้องตั้งคำถามขึ้นมานั้น มีอะไรบ้างที่เด่น ๆ
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism)
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism)
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)

ความหมายของหลักสูตร
                ในแวดวงนักศึกษาผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้มากมาย โดยไม่สามารถทำให้ทุกคนเห็นพ้องกับความหมายใดเพียงความหมายเดียว เพราะหลักสูตรเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาแต่อาจแบ่งกลุ่มความหมายของหลักสูตรได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มความหมายที่เน้นถึงเนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนรู้ 2) กลุ่มความหมายที่เน้นความหมายสำคัญของจุดหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน และ 3) กลุ่มความหมายที่เน้นกระบวนการที่จะพัฒนาผู้เรียน
กาญจนา คุณารักษ์(2535 : 1-4) ได้รวบรวมความหมายหลักสูตรไว้ดังนี้
1. หลักสูตร คือ รายวิชาหรือรายการเนื้อหาที่สอนโรงเรียน
                จากที่กล่าวมาแล้วสามารถสรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึงมวลประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรือแผน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน ได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
ความสำคัญของหลักสูตร
                นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงทัศนะและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับความสำคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างไรต่อการจัดการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าหลักสูตรมีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนในแต่ละวัยแต่ละระดับการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้เรียนว่าควรเรียนรู้สาระการเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงใด จาการศึกษาเอกสารพบว่ามีผู้ที่กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้โดยสรุป ดังนี้
สันต์ ธรรมบำรุง (2527 : 152) สรุปความสำคัญของหลักสูตรไว้ 9 ประการ คือ
                1. หลักสูตร เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
                2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาชาติ
                3. หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาล หรือเป็นธรรมนูญในการจักการศึกษา เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม
                4. หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาอีกด้วย
                5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุม ดูแลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย
                6. หลักสูตรจะกำหนดแนงทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
                7. หลักสูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด
                8. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติที่ได้ผล
                9. หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้กำลังที่มีประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบของหลักสูตร
                องค์ประกอบของหลักสูตร นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์และสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการพัฒนาหลักสูตรได้
            องค์ประกอบของหลักสูตร โดยทั่วไปมี 4 องค์ประกอบ
1. ความมุ่งหมาย (objectives) คือ เป็นเสมือนการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปในลักษณะต่าง ๆที่พึงประสงค์อันก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมนั้นการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรต้องคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานของสังคม เพื่อประโยชน์ ในการแก้ปัญหา และสนองความต้องการของสังคมและผู้เรียน และต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับนโยบายการจัดการศึกษาของชาติด้วย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรส่วนนี้ เป็น 2 ลักษณะ คือ “หลักการของหลักสูตร” หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการจัดการศึกษาซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการจัดการศึกษาระดับนั้น ๆ จะได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ “จุดหมายของหลักสูตร” หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆหรือคุณสมบัติต่าง ๆที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นแล้ว
2. เนื้อหาวิชา (Content) เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระที่ได้กำหนดไว้ต้องสมบูรณ์ ต้องผนวกความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม แนวคิด และทัศนคติเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทั้งในด้านความรู้ ความทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่จะแปลงหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติกิจกรรมนั้นมีหลายลักษณะ แต่กิจกรรมที่สำคัญที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนการสอน หรือ อาจกล่าวได้ว่า “การสอนเป็นหัวใจของการนำหลักสูตรไปใช้” ดังนั้น ครูผู้สอนจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความมุ่งหมายของหลักสูตร ประกอบด้วย
3.1 วิธีการจัดการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้หลักสูตรจะเน้นแบบยึดครูเป็นสำคัญหรือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาการศึกษา หรือแนวความคิด ความเชื่อในการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ และขึ้นอยู่กับจุดหมายของหลักสูตรนั้นเป็นสำคัญ สำหรับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรในปัจจุบันเน้นแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือเน้น “การสอนคนมากกว่าการสอนหนังสือ” โดยมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ เช่น กระบวนการเรียนหรือวิธีการเรียนสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงและครูเป็นผู้กำกับการแสดงชี้แนะแนวทาง ผู้เรียนค้นหาความรู้ สรุป และ ตัดสินใจเอง
รูปแบบหลักสูตร
                หลักสูตรแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ คือแนวความคิดหรือปรัชญาในการจัดการศึกษาแตกต่างกันจุดเน้นของความมุ่งหมายแตกต่างกัน เป็นต้น จากหลักเกณฑ์ความแตกต่างของหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น อาจจำแนกรูปแบบของหลักสูตรได้ 8 รูปแบบ ดังนี้
                3.1 หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา เป็นหลักสูตรแบบดั้งเดิมหรือหลักสูตรเก่าที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ต้องการให้ผูเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้ต่างๆจะจัดไว้เพื่อถ่ายทอดอย่างมีระเบียบตามที่ผู้รู้ในแต่ละวิชาได้กำหนดไว้
                3.2 หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา เป็นหลักสูตรที่มีพื้นฐานมาจากหลักสูตรแบบรายวิชาเนื่องจากเมื่อนำหลักสูตรรายวิชาไปใช้การเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวิชาแตกแยกกันมากขึ้น ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้น้อย เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงนำเนื้อหาวิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึง และมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
                3.3 หลักสูตรแบบหมวดวิชา หรือสหสัมพันธ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้จุดมุ่งหมายจะผสมผสานเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือสาขาเดียวกัน ให้มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชามากขึ้น ในลักษณะหมวดวิชา เช่น หมวดวิชาสังคมศึกษา ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เป็นต้น
                3.4 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรลักษณะแบบนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชา ที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน หลักสูตรนี้จึงยึดเอากิจกรรม ความสนใจและประสบการณ์แวดล้อมมาเป็นแนวทางในการจัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยยึดปรัชญาพิพัฒนาการเป็นแนวทางด้านการวัดผลให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนมากกว่าปริมาณความรู้ความจำ โดยมีข้อดี คือ สนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นการเรียนอย่างมีความหมาย เป็นต้น
                3.5 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หลักสูตรนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ของ จอห์น ดิวอี้ ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ และประสบการณ์จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก เช่น การมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีของสังคมที่แวดล้อมอยู่โดยพยายามให้เนื้อหามีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เป็นต้น
                3.6 หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรแบบนี้มีลักษณะผสมผสานเนื้อหาวิชาเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียนของผู้เรียน หลักสูตรประกอบด้วยสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนเป็นความรู้หนึ่ง และส่วนที่ใช้เลือกส่วนหนึ่ง หลักสำคัญอยู่ที่การจัดการเวลาเรียน และการจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและขณะเดียวกันเน้นการเรียนรู้ทางวิชาการอย่างมีระบบ  โดยมีข้อดี คือ มีการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และเนื้อหาวิชา มีความเกี่ยวพันกับชีวิตและความสนใจของผู้เรียน สนองความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.7 หลักสูตรแบบเอกัตภาพ หลักสูตรแบบนี้จัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรไปตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล การจัดหลักสูตรแบบนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะวิเคราะห์ความต้องการ ระดับสติปริญญา และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง จัดการเรียนการสอนอยู่ในรูปของการจัดชุดการเรียนให้ผู้เรียนได้ศึกษาและพัฒนาความสามารถของตนไปตามลำดับ มี ข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถได้เรียนได้ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้คำแนะนำปรึกษา ผู้เรียนยึดแนวการสอนที่จัดทำไว้ โดยไม่ต้องพบผู้สอนเป็นประจำ ผู้เรียนที่มีความสามารถสูงสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มความสามารถ แต่มีข้อจำกัดที่ว่าความสัมพันธ์ในการรวมกลุ่มมีน้อย ผู้เรียนที่ ขาดความรับผิดชอบและไม่มีความซื่อสัตย์อาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ การแก้ปัญหาต่าง ๆ กระทำได้น้อยและควรจะมาจากความคิดเห็นของกลุ่มมากกว่าคนเดียว
3.8 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชาโดยพยายามรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยจะคัดเลือกตัดตอนมาจากหลาย ๆ สาขา แล้วมาจัดเป็นกลุ่มหมวดหมู่เพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง การบูรณาการเนื้อหาวิขาต่าง ๆ จะเน้นที่ตัวเด็กและปัญหาสังคมเป็นสำคัญการจัดการเรียนสอน มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ การวัดผลจะเน้นพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแก้ปัญหามีข้อดี คือ ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ต่อเนื่อง มีประโยชน์โดยตรงต่อการดำรงชีวิตเป็นหลักสูตรที่มีการผสมผสานกันอย่างดี
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า การกำหนดรูปแบบของหลักสูตรเป็นการพิจารณาเลือกและจัดเนื้อหาวิชาของวิชาของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของหลักสูตร โดยหลักสูตรแต่ละรูปแบบจะมีจุดมุ่งหมายโครงสร้างหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากการสร้างหลักสูตรแต่ละครั้ง ต่างยุคต่างสมัย จึงต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่ต่างกันด้วย
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
หลักสูตรที่ดีย่อมส่งผลดีต่อการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน กล่าวคือ หลักสูตรที่ดีจะเป็นแนวทางให้ผู้บริหารโรงเรียนนำไปปฏิบัติได้ดี มีประสิทธิภาพทางด้านครูสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลดีต่อผู้เรียน หลักสูตรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ คือ
1.หลักสูตรควรมีความคล้องตัว และสามารถปรับปรุงและยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
2.หลักสูตรควรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3.หลักสูตรควรได้รับการจัดทำหรือพัฒนาจากคณะบุคคลหลายฝ่าย
4.หลักสูตรจะต้องจัดได้ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ
5.หลักสูตรควรจะมีกิจกรรมกระบวนการและเนื้อหาสาระของเรื่องที่สอนบริบูรณ์เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และพัฒนาการเรียนผู้เรียนในทุกๆด้าน
6.หลักสูตรควรบอกแนวทาง ด้านสื่อการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
7.หลักสูตรควรจะมีลักษณะที่สนองความต้องการและความสนใจ ทั้งของนักเรียนและสังคม
8.หลักสูตรควรส่งเสริมความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนทุกด้าน รวมทั้งส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.หลักสูตรควรชี้แนะแนวทางกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะและเจตคติได้ด้วยตนเอง จากสื่อต่างๆที่อยู่รอบตัว
10.หลักสูตรควรจัดทำมาจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆอย่างรอบคอบ
11.เป็นหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื้อหาและกิจกรรมต้องเหมาะสมกับธรรมชาติ
12.เนื้อหาและประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิตของผู้เรียน ประสบการณ์ต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
สรุป
                หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียนซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรือแผน ซึ่งประกอบด้วย ความมุ่งหมายของการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการศึกษา ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศ หรือกล่าวอีกในหนึ่งได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอน ที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร เรื่องใด เพื่ออะไรฆฆ
สาเหตุที่ทำให้มีการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้น สมบูรณ์ สามารถสนองความต้องการของบุคคล และสังคม พื้นฐานด้านต่างๆ ที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องนำมาพิจารณานั้นมีหลายประการ ซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้
1.  พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
2.  พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3.  พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.  พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
5.  พื้นฐานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.  วินิจฉัยความต้องการ : สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2.  กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3.  คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4.  จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
5.  คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6.  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง
7.  กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 6 ขั้นดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1.  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลทางด้านความต้องการ ความจำเป็นและปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ตลอดจนนโยบายทางการศึกษาของรัฐ ข้อมูลทางด้านจิตวิทยา ปรัชญาการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนวิเคราะห์หลักสูตรเดิม เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข
2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร คณะกรรมการดำเนินงานจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรจะระบุคุณสมบัติของผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยกำหนดทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละรายวิชา ซึ่งจะเน้นการปฏิบัติมากขึ้น โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม เพื่อให้เป็นพลเมืองดี
3.  การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ หลังจากได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว ก็ถึงขั้นการเลือกสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อความสมบูรณ์ให้ได้วิชาความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้
4.  การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับครูผู้สอน หลักสูตรจะประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และมีความชำนาญในการใช้หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมถึงการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงเรียนเพื่อเสริมหลักสูตร การนิเทศการศึกษา และการบริหารการบริการหลักสูตร ฯลฯ นอกจากนี้ในขั้นนี้ยังครอบคลุมถึงการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ก่อนนำไปเผยแพร่ด้วย
                   5. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรว่าเมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้แล้วนั้น ผู้ที่จบหลักสูตรนั้นๆ ไปแล้ว มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ การประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณค่าสูงขึ้น อันเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การประเมินหลักสูตรควรทำให้ครอบคลุมระบบหลักสูตรทั้งหมด และควรจะประเมินให้ต่อเนื่องกัน ดังนั้นการประเมินหลักสูตร จึงประกอบด้วยการประเมินสิ่งต่อไปนี้ คือ
5.1 การประเมินเอกสาร หลักสูตร เป็นการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ว่ามีความเหมาะสมดี และถูกต้องตามหลักการพัฒนาหลักสูตรเพียงใด หากมีสิ่งใดบกพร่องก็จะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะได้นำไปประกาศใช้ในโอกาสต่อไป
5.2 การประเมินการใช้หลักสูตร เป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตร สามารถนำไปใช้ได้ดีในสถานการณ์จริงเพียงใด มีส่วนไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หลักสูตร โดยมากหากพบข้อบกพร่องในระหว่างการใช้หลักสูตรก็มักได้รับการแก้ไขโดยทันที เพื่อให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร โดยทั่วไปจะดำเนินการหลังจากได้มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรไปแล้ว การประเมินหลักสูตร ในลักษณะนี้มักจะทำการติดตามความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเพียงใด
     5.4 การประเมินระบบหลักสูตร เป็นการประเมินหลักสูตรในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสลับซับซ้อนมาก กล่าวคือ การประเมินระบบหลักสูตรจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรด้วย เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ความสัมพันธ์ของระบบหลักสูตร กับระบบบริหาร โรงเรียน ระบบการจัดการเรียนการ
สอน และระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น
6.  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากได้ผ่านกระบวนการประเมินผลหลักสูตรแล้ว ซึ่งเมื่อมีการใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมและสังคม จนทำให้หลักสูตรขาดความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมากขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้เวลาเป็นปีขึ้นไป ในการเตรียมการ และการดำเนินงานจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณมากพอสมควร เพื่อจะให้ได้หลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลในการพัฒนาเยาวชนของชาติต่อไป
 ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
                 ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1.             ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.             ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอน ของครูตามแนวหลักสูตร
3.             ปัญหาการจัดอบรมครู
4.             ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5.             ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6.             ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
                  วิธีการการพัฒนาหลักสูตร มี  5 วิธีการ
1.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3.             การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4.             การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.             การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
การนำหลักสูตรไปใช้ Curriculum Implementation
                การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดหมายของหลักสูตร  เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน  ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด  เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม  ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ  ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้ จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ความหมายของคำว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกันออกไป  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย      คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)   ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น  พอสรุปได้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่  วัสดุอุปกรณ์  สภาพแวดล้อม  และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน