วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

(Self-Test)11

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
2.การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้มีจุดประสงค์สำคัญคืออะไร
ตอบ การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า
          จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร  (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 
          1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
          2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่
          3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร
          4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
          5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่
          6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร
          7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่

กิจกรรม (Activity)
3.ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์
ตอบ    การประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญา เป็นการประเมินระดับคุณภาพ/การปฏิบัติของสถานศึกษาใน 5 ด้าน 18 องค์ประกอบ 62 ตัวบ่งชี้ซึ่งระบุในเครื่องมือประเมินผลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2554 – 2556 โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายการประเมินด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 5 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ
องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ
องค์ประกอบที่ 4 อาคารสถานที่/แหล่งเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 5 ความสัมพันธ์กับชุมชน
รายการประเมินด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รายการประเมินด้านที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
รายการประเมินด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 2 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามประเมินผลและขยายผล
รายการประเมินด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ 4 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน

เกี่ยวกับฉัน